สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 6-12 ธันวาคม 2564

 

ข้าว

1.สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) โครงการสำคัญภายใต้แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2564/65 ดังนี้
1.1) ด้านการผลิต
(1) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าว และมาตรการควบคุม
ค่าเช่าที่นา
(2) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตพืช โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงการพัฒนาและส่งเสริมการเกษตร (ข้าวพันธุ์ กข43 และข้าวเจ้าพื้นนุ่ม) โครงการรักษาระดับปริมาณและคุณภาพข้าว โครงการเพิ่มปริมาณ
น้ำต้นทุนและเพิ่มพื้นที่ระบบส่งน้ำให้พื้นที่เกษตรกรรม และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับการผลิตข้าวยั่งยืน
(3) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรตามแผนที่การเกษตรเชิงรุก (Zoning by Agri-Map) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังฤดูทำนา โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง โครงการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ผ่านระบบสหกรณ์ แผนการถ่ายทอดความรู้การผลิตพืชหลังนาและการใช้น้ำในการผลิตพืชอย่างมีประสิทธิภาพ และแผนการผลิตพันธุ์พืชและปัจจัยการผลิต
(4) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer)
(5) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นแข็ง และพันธุ์ข้าวเหนียว
(6) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
(7) การส่งเสริมการสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรทั่วประเทศ (รัฐชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3)
1.2) ด้านการตลาด
(1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์ และข้าว GAP ครบวงจร
(2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่ โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก โครงการส่งเสริมผลักดันการส่งออกข้าว และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
(3) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ โครงการกระชับความสัมพันธ์และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทย เพื่อขยายตลาดข้าวไทยในต่างประเทศ และโครงการ ลด/แก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าข้าวไทยและเสริมสร้างความเชื่อมั่น
(4) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าว และนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทยในงานแสดงสินค้านานาชาติ และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
(5) การประชาสัมพันธ์รณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
(6) การประชาสัมพันธ์ข้าวไทยในกลุ่มผู้บริโภคในต่างประเทศผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย
2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 และมาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ดังนี้
2.1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 รอบที่ 1 โดยกำหนดชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) ดังนี้ (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน (2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน (3) ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน (4) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และ (5) ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
2.2) มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ประกอบด้วย
3 โครงการ ได้แก่
(1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2564/65 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อรักษาราคาข้าวเปลือกให้มีเสถียรภาพ
โดยให้มีการเก็บข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เพื่อชะลอผลผลิตออกสู่ตลาดพร้อมกันเป็นจำนวนมาก เป้าหมายจำนวน 2 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,000 บาทข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 9,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 5,400 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 7,300 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 8,600 บาท รวมทั้งเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2564/65โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 15,000 ล้านบาท
คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3 ต่อปี
(3)โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2564/65 ผู้ประกอบการค้าข้าวรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อก เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกร
ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 - 31 มีนาคม 2565 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2565) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,605 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 9,485 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.26
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 7,734 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 7,705 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.37
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 24,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 11,950 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 667 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,230 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 662 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,809 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.76 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 421 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 401 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,364 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 398 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,109 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.75 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 255 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 404 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,464 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 401 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,208 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.75 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 256 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 33.3278 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
กัมพูชา
กระทรวงเกษตร ป่าไม้และการประมง (the Ministry of Agriculture, Forestry, and Fisheries; MAFF) รายงานว่า ในเดือนพฤศจิกายน 2564 มีการส่งออกข้าวจำนวน 72,010 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2 เมื่อเทียบกับจำนวน 64,740 ตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา และเพิ่มขึ้นร้อยละ 45.56 เมื่อเทียบกับจำนวน 49,471 ตัน ในเดือนตุลาคม 2564 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ ในช่วง 11 เดือนของปีนี้ (มกราคม-พฤศจิกายน 2564) กัมพูชาส่งออกข้าวประมาณ 532,179 ตัน โดยปริมาณลดลงร้อยละ 11.5 เมื่อเทียบกับจำนวน 601,045 ตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (คิดเป็นมูลค่าประมาณ 454.48 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)
นอกจากนี้ในช่วง 11 เดือนแรกของปีนี้ยังมีการส่งออกข้าวเปลือกจำนวนประมาณ 3.655 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 1.001 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 53.71% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งส่วนใหญ่ส่งไปยังประเทศเวียดนามประมาณ 3.123 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 75.75 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (คิดเป็นมูลค่าประมาณ 546.567 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)
ทั้งนี้ ในช่วง 11 เดือนของปีนี้ตลาดจีน (รวมฮ่องกง และมาเก๊า) ยังคงเป็นตลาดหลักที่สำคัญของกัมพูชา โดยมีปริมาณส่งออกประมาณ 265,244 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 49.84 ของการส่งออกข้าวทั้งหมด) ตามด้วยตลาดสหภาพยุโรปจำนวนประมาณ 134,438 ตัน ลดลงร้อยละ 28.66 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 25.26 ของการ ส่งออกข้าวทั้งหมด) ตลาดอาเซียน 54,350 ตัน ลดลงร้อยละ 30.51 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 10.21 ของการส่งออกข้าวทั้งหมด) ส่วนที่เหลือประมาณ 78,147 ตัน ส่งไปยังตลาดอื่นๆ ลดลงร้อยละ 21.43 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 14.68 ของการส่งออกข้าวทั้งหมด)
ชนิดข้าวที่ส่งออกเป็นข้าวในกลุ่มข้าวหอม (fragrant varieties) ซึ่งประกอบด้วยข้าวหอมเกรดพรีเมี่ยม (Premium aromatic rice) และข้าวหอมธรรมดา (Sen Kra Ob fragrant rice) รวมประมาณ 389,912 ตัน คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 73.27 ของการส่งออกข้าวทั้งหมด ตามด้วยข้าวขาวเมล็ดยาว (Long grain white rice) จำนวน 132,675 ตัน คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 24.93 ของการส่งออกข้าวทั้งหมด และข้าวนึ่ง (Parboiled rice) สัดส่วนประมาณร้อยละ 1.8 ของการส่งออกข้าวทั้งหมด
นาย Chan Sokheang รองประธานสมาพันธ์ข้าวกัมพูชา (the Cambodia Rice Federation; CRF) ระบุว่า สาเหตุที่ทำให้การส่งออกข้าวมีปริมาณลดลง เนื่องจากปัญหาด้านโลจิสติกส์ เช่น การขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 20 ฟุต ซึ่งปกติแล้วจะใช้ขนสินค้าข้าว รวมถึงค่าระวางเรือที่ปรับสูงขึ้นมาก สถานการณ์ดังกล่าวทำให้การขนส่งข้าว
ไปยังตลาดที่อยู่ห่างไกลโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหภาพยุโรปมีอุปสรรคมาก อย่างไรก็ตาม ขณะนี้สถานการณ์ดังกล่าว
เริ่มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปบ้างแล้ว
ด้านนาย Sin Chanthy ประธานสมาคมโลจิสติกส์กัมพูชา (Cambodia Logistics Association; CLA)
กล่าวว่า แม้ว่าภาคการขนส่งภายในประเทศจะมีผลการดำเนินงานค่อนข้างดี แต่ภาคธุรกิจระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขนส่งทางน้ำยังคงมีปัญหามากมายเกี่ยวกับอัตราค่าขนส่งที่สูงขึ้น (shipping rates) ซึ่งข้อจำกัดด้านราคา
ทำให้การขนส่งสินค้าจากกัมพูชาไปยังจุดหมายปลายทางที่ห่างไกล เช่น ยุโรปและสหรัฐอเมริกาทำได้ยาก อย่างไรก็ตามคาดว่าราคาน้ำมันในตลาดโลกที่มีแนวโน้มลดลงน่าจะช่วยให้ค่าขนส่งลดลงในช่วงต้นปีหน้า
          ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
 
ฟิลิปปินส์
สำนักข่าว Bloomberg รายงานว่า รัฐบาลฟิลิปปินส์วางแผนที่จะลดการนำเข้าข้าวลง เนื่องจากผลผลิตที่
เก็บเกี่ยวได้ในประเทศมีปริมาณเพียงพอกับความต้องการแล้ว ซึ่งเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐบาลได้ใช้มาตรการจำกัด
การนำเข้าข้าวจากเวียดนามเป็นการชั่วคราว โดยกระทรวงเกษตรของฟิลิปปินส์ได้สั่งระงับขั้นตอนการออกใบอนุญาตสุขอนามัยในการนำเข้า (Sanitary and Phytosanitary Import Clearance: SPSIC) สำหรับข้าวที่มาจากเวียดนามในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2564 นี้ ซึ่งปัจจุบันฟิลิปปินส์ถือเป็นตลาดส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม
คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 40 ของปริมาณข้าวทั้งหมดที่เวียดนามส่งออกไปยังต่างประเทศ
ผู้อำนวยการสำนักอุตสาหกรรมพืช (The Director of the Bureau of Plant Industry; BPI) กล่าวกับ ผู้สื่อข่าวว่าหน่วยงานกำลังชะลอการออกใบอนุญาตสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPSIC) สำหรับเดือนพฤศจิกายน
และธันวาคม 2564 เนื่องจากคาดว่าจะมีผลผลิตข้าวในประเทศมากขึ้น ซึ่งหน่วยงานมักจะหยุดการออกใบอนุญาต ดังกล่าวในช่วงที่มีการเก็บเกี่ยวข้าวมากที่สุด เพื่อให้แน่ใจว่าราคาข้าวภายในประเทศจะไม่ตกต่ำ โดยปกติแล้ว
จะมีการหยุดออกใบอนุญาตในช่วงวันที่ 15 มีนาคม - 30 เมษายน และอีกครั้งตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน - 30 ตุลาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นช่วงฤดูเก็บเกี่ยวข้าว
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
 
อินโดนีเซีย
ประธานาธิบดีอินโดนีเซียให้สัมภาษณ์ว่า ในปี 2564 นี้ อินโดนีเซียไม่ได้มีการนำเข้าข้าวจากต่างประเทศ นอกจากนี้เขายังมั่นใจว่าสต็อกของประเทศจะมีเพียงพอกับความต้องการภายในประเทศ
ทั้งนี้ ประธานาธิบดีได้กล่าวในระหว่างเข้าร่วมกิจกรรมปลูกข้าวในจังหวัดชวาตะวันออกว่า ในปีนี้ผลผลิตของเกษตรกรในท้องถิ่นมีจำนวนเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีจำนวนเขื่อนที่สามารถจ่ายน้ำในระบบชลประทานให้กับพื้นที่ปลูกข้าว
ทั่วประเทศเพิ่มขึ้น
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้ก่อสร้างเขื่อนหลายแห่งทั่วประเทศเพื่อปรับปรุงระบบชลประทานและช่วยเพิ่มผลผลิตพืชผลให้มากขึ้น โดยเขื่อน 2 แห่ง ในเขต Trenggalek และอำเภอ Bojonegoro ในจังหวัดชวาตะวันออก
ได้มีการเปิดตัวก่อนฤดูปลูกข้าวในปีนี้
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้

ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.93 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.76 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.94 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.10 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.87 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.45
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.45 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.18 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 10.20 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.20
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 317.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,554.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากตันละ 316.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,571.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.32 แต่ลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 17.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนมีนาคม 2565 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 586.00 เซนต์ (7,791.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชล 577.00 เซนต์ (7,702.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.56 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 89.00 บาท

 


มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2565 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 – กันยายน 2565) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.664 ล้านไร่ ผลผลิต 32.730 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.387 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2564 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.796 ล้านไร่ ผลผลิต 32.499 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.318 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ลดลงร้อยละ 1.35 แต่ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.71 และร้อยละ 2.08 ตามลำดับ โดยเดือนธันวาคม 2564 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 2.95 ล้านตัน (ร้อยละ 9.01 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2565 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2565 ปริมาณ 20.30 ล้านตัน (ร้อยละ 62.02 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงต้นฤดูการเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นและคุณภาพดี สำหรับลานมันเส้นและโรงงานแป้งมันสำปะหลังส่วนใหญ่เปิดดำเนินการ
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.28 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.22 บาทในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.70
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.66 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.53 บาทในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.99
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ7.84 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.71 บาทในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.69
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.05 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 15.01 บาทในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.27
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 260 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,665 บาทต่อตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 256 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,709 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.56
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 488 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,139 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (16,346 บาทต่อตัน)

 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2564 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนธันวาคมจะมีประมาณ 0.929 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.167 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.070 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.193 ล้านตันของเดือนพฤศจิกายน คิดเป็นร้อยละ 13.18 และร้อยละ 13.47  ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 8.23 บาท ลดลงจาก กก.ละ 8.54 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.63
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 45.33 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 45.20 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.29       
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ผู้ผลิตน้ำมันปาล์มของมาเลเซียแข่งขันกันอย่างดุเดือดจากสถานการณ์แรงงานขาดแคลนและต้นทุนแรงงานที่สูงขึ้นจากสถานการณ์ที่ถูกข้อกล่าวหาเรื่องการบังคับใช้แรงงาน ถึงแม้มาเลเซียจะมีข้อได้เปรียบด้านการแข่งขันมากขึ้นจากที่อินโดนีเซียเพิ่มภาษีส่งออก แต่มาเลเซียยังมีปัญหาต้นทุนการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นก็เป็นอุปสรรคที่มีส่วนให้มาเลเซียเสียข้อได้เปรียบนี้ไป ต้นทุนแรงงานและค่าปุ๋ยที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ราคาน้ำมันปาล์มทั้งของมาเลเซียและอินโดนีเซียเพิ่มสูงขึ้นสูงสุดในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อต้นทุนราคาสินค้าที่ใช้น้ำมันปาล์มเป็นวัตถุดิบ 
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 5,254.85 ดอลลาร์มาเลเซีย (42.38 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 5,231.78 ดอลลาร์มาเลเซีย (42.38 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.44  
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,327.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (44.82 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,320.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (44.79 บาท/กก.)  ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.57
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน

 


อ้อยและน้ำตาล

1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ

         ไม่มีรายงาน

2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
         ตามรายงานสื่อท้องถิ่นในอินเดีย รัฐบาลอินเดียกำลังขอให้โรงงานต่างๆ ให้ข้อมูลรายเดือนเกี่ยวกับการส่งออกน้ำตาล  โดยรายงานระบุว่ารัฐบาลสามารถเริ่มโครงการอุดหนุนการส่งออกใหม่ได้หากจำเป็น
         MEIR Commodities India รายงานว่า ผู้ส่งออกน้ำตาลในรัฐมหาราษฏระกำลังเผชิญกับปัญหา ด้านการขนส่งที่ทวีความรุนแรงขึ้นจากอัตราค่ารถบรรทุกที่ราคาแพงและพื้นที่จัดเก็บน้ำตาลไม่เพียงพอในท่าเรือ Kandla ผู้ส่งออกน้ำตาลคาดว่าปัญหาจะคลี่คลายได้ในเดือนมกราคม ซึ่งราคาน้ำตาลโลกที่สูงขึ้นจะช่วยรับประกันสัญญาส่งออกใหม่ได้




 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 15.25 บาท
ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.64
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา 
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,260.92 เซนต์ (15.64 บาท/กก.)สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1,239.20 เซนต์ (15.45 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.75
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 366.18 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.36 บาท/กก.)สูงขึ้นจากตันละ 357.75 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.14 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.36
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 55.73 เซนต์ (41.47 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 55.87 เซนต์ (41.78 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.25


 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.62 สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 20.70 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.44
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 29.80 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.68
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 26.80 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.99
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 22.80 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.51
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 899.00 ดอลลาร์สหรัฐ (29.96 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 920.60 ดอลลาร์สหรัฐ (30.84 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.35 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.87 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 808.33 ดอลลาร์สหรัฐ (26.94 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 830.60 ดอลลาร์สหรัฐ (27.82 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.68 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.88 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,261.00 ดอลลาร์สหรัฐ (42.03 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,257.80 ดอลลาร์สหรัฐ (42.13 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.25 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.10 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 687.67 ดอลลาร์สหรัฐ (22.92 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 710.40 ดอลลาร์สหรัฐ (23.80 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.20 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.88 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,224.67 ดอลลาร์สหรัฐ (40.82 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตัน 1,221.60 ดอลลาร์สหรัฐ (40.92 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.25 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.10 บาท


 

 
ถั่วลิสง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.30 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 43.49 บาท จากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.86
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.53 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 33.28 บาท จากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.75
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 64.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน


 

 
ฝ้าย

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
    ราคาที่เกษตรกรขายได้
    ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ ไม่มีการรายงานราคา
    ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
    ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนมีนาคม 2565 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 106.58 เซนต์(กิโลกรัมละ 79.32 บาท) เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 105.98 เซนต์ (กิโลกรัมละ 79.28 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.57 (เพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.04 บาท)

 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,772 บาท สูงขึ้นจาก กิโลกรัมละ 1,649 บาท คิดเป็นร้อยละ 7.50 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,486 บาท สูงขึ้นจาก กิโลกรัมละ 1,429 บาท คิดเป็นร้อยละ 4.00 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 996 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา

 

 
ปศุสัตว์
 
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
  
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  75.43 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 75.18  คิดเป็นร้อยละ 0.33 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 70.93 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.87 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 79.77 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 76.02 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 2,500 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 78.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 

ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
 
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 41.62 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 41.63 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.02 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 42.28 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 42.91 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 12.50 ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดมีจำนวนน้อยกว่าความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ                                                                                                                 
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 286 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 283 บาทคิดเป็นร้อยละ 1.10 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 304 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 282 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 283 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.13 บาท  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 361 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 356 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.23 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 374 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 373 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 329 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 400 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 4.05 บาท สูงขึ้นจากเฉลี่ยร้อยฟองละ 3.95 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.23 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
   
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 97.70 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 96.15 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.61 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 95.77 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 98.64 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 90.13 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 109.29 บาท

กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 81.10 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 80.72 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.47 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 89.17 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 79.54 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน 

 

 
 

 
ประมง

 


ตารางประมง ราคาเกษตรกรขายได้ ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ และราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี